เมนู

11. ทุติยอุทธัมภาคิยสูตร



ว่าด้วยวิธีกำจัดอุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5


[353] สาวัตถีท่าน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วน
เบื้องสูง 5 อย่างนี้ 5 อย่างเป็นไฉน คือ รูปราคะ 1 อรูปราคะ 1 มานะ 1
อุทธัจจะ 1 อวิชชา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง
5 อย่างนี้แล.
[354] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อัน
เป็นส่วนเบื้องสูง 5 อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 เป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกําจัด
ราคะเป็นที่สุด มีอันกําจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกําจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ
ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกําจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด
มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันหยั่ง
ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย้อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญ
สัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 นี้
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง
5 อย่างนี้แล.
จบทุติยอุทธัมภาคิยสูตรที่ 11
จบโอฆวรรคที่ 13
จบมัคคสังยุต

โอฆวรรควรรณนาที่ 13



พึงทราบวินิจฉัยในโอฆวรรค.
บทว่า กาโมโฆ ได้แก่ ความกําหนัดด้วยความพอใจในกามคุณ 5.
บทว่า ภโวโฆ ได้แก่ ความกําหนัดด้วยความพอใจในรูปราคะและอรูปราคะ.
บทว่า ทิฎฺโฐโฆ ได้แก่ ทิฏฐิ 62. บทว่า อวิชฺโชโฆ ได้แก่ ความ
ไม่รู้ในอริยสัจ 4. แม้ในกามโยคะเป็นต้นก็มีนัยนี้แล.
บทว่า กามุปาทานํ ได้แก่ การยึดถือกาม. แม้ในบทมีบทว่า
ทิฏฺฐุปาทา เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.
บทว่า คนฺถา ได้แก่ เครื่องร้อยรัด คือติดแน่น. บทว่า กาย-
คนฺโถ ได้แก่ เครื่องร้อยรัดแห่งนามกาย คือกิเลสเครื่องร้อยรัดแน่น.
บทว่า อิทํ สจฺจาภินิเวโส ได้แก่ ยึดมั่นอย่างนี้ว่า นี้แหละจริง เกิดขึ้น
ด้วยอำนาจอันตคาหิกทิฎฐิ. บทว่า กามราคานุสโย ความว่า ชื่อว่า
กามราคานุสัย เพราะอรรถว่า ไปด้วยกําลัง แม้ในสูตรที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
บทว่า โอรมฺภาคิยานิ คือสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ. บทว่า
สญฺโญชนานิ ได้แก่ เครื่องผูกมัด. บทว่า อุทฺธมฺภาคิยานิ ได้แก่
สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง. สูตรที่เหลือในที่ทั้งปวงมีความง่ายทั้งนั้น ด้วย
ประการฉะนี้.
จบโอฆวรรควรรณนาที่ 13
จบอรรถกถามัคคสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. โอฆสูตร 2. โยคสูตร 3. อุปาทานสูตร 4. คันถสูตร
5. อนุสสยสูตร 6. กามคุณสูตร 7. นีวรณสูตร 8. อุปาทานขันธสูตร
9. โอรัมภาคิยสูตร 10. ปฐมอุทธัมภาคิยสูตร 11. ทุติยอุทธัมภาคิยสูตร